เกลือ มากกว่าแค่ให้รสเค็ม

19 Nov, 2013 จำนวนคนอ่าน 93,971

เกลือ มากกว่าแค่ให้รสเค็ม 
คุณอาจคาดไม่ถึงว่าเกลือในปริมาณที่มากเกินความต้องการจะมีผลร้ายแรงต่อร่างกายขนาดไหน 
และส่งผลไปถึงโรคความดันโลหิตสูงได้อย่างไร  


 

เกลือมีประวัติศาสตร์คู่กับมนุษย์มายาวนาน มนุษย์รู้จักวิธีการทำเกลือมาตั้งแต่ ประมาณ 10,000 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ในอดีตเกลือเป็นสิ่งที่มีค่ามาก เพราะถือเป็นสิ่งหายากในสังคม มนุษย์ เนื่องจากแหล่งผลิตเกลือมีน้อย ปริมาณการผลิตไม่มากนัก ดังนั้น ผู้คนในโลกจำต้องแสวงหาเกลือมาบริโภค เพราะเกลือเป็นเครื่องปรุงรสโบราณที่ทุกบ้านเรือนต้องใช้ เกลือจึงกลายเป็นสิ่งของที่ผู้คนนำไปแลกเปลี่ยนเอาสินค้าอย่างอื่น จนอาจกล่าวได้ว่าเกลือเป็นสินค้าชิ้นแรกที่มนุษย์มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน 

เกลือเป็นคำเรียกทั่วไปของสารประกอบที่ประกอบด้วยไอออนบวกของโลหะ (รวมทั้งไฮโดรเจนไอออน) และไอออนลบของอโลหะ แต่หากพูดถึงเกลือที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลายใน ชีวิตประจำวันและส่งผลกระทบต่อสุขภาพในที่นี้หมายถึง เกลือแกงหรือ Sodium Chloride (NaCl) โดยเมื่อละลายน้ำแล้วจะแตกตัวให้ โซเดียมไอออน (Na+) และ คลอไรด์ไอออน (Cl-) ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญต่อการทำงานของระบบต่างๆของร่างกาย โดยเฉพาะโซเดียมไอออน (Na+) นั้นเป็นส่วนประกอบของของเหลวที่สำคัญในร่างกาย และมีหน้าที่ใน การรักษาระดับความดันออสโมติกของน้ำ ระหว่างภายในและนอกเซลล์ไว้ โดยโซเดียมจะกระจายตัวอยู่ในส่วนของน้ำนอกเซลล์ ประมาณร้อยละ 97.7 ดังนี้ พลาสมา (Plasma), เนื้อเยื่อและกระดูกอ่อน, กระดูก, ช่องว่างระหว่างเซลล์และของเหลวผ่านเซลล์ ส่วนโซเดียมที่เหลืออีกร้อยละ 3.3 นั้นอยู่ภายในเซลล์ ระดับความเข้มข้นที่แตกต่างกันของโซเดียม ไอออน (Na+) นี้เองเป็นกลไกสำคัญในการควบคุมปริมาณของน้ำและการเคลื่อนที่ย้ายน้ำในร่างกาย



จากรูปแสดง ปริมาณน้ำทั้งหมดในร่างกายของชาย น้ำหนัก 70 กิโลกรัม ที่อยู่ในสภาวะสมดุล โดยโซเดียมไอออน (Na+) จะอยู่ภายนอกเซลล์มากกว่าในเซลล์ ปกติแล้ว โซเดียมไอออน (Na+) จะเกิดการแลกเปลี่ยนไปมาตลอดเวลา โดยโซเดียมไอออน (Na+)ภายนอกเซลล์จะแพร่เข้าสู่ภายใน ส่วนโซเดียมไอออน (Na+) ภายในจะไหลออกนอกเซลล์ ผ่านการปั๊ม(Pump) และเกิดไปพร้อมกับการแลกเปลี่ยนโพแทสเซียมไอออน(K+)
แต่ด้วยวิธีตรงกันข้าม อย่างไรก็ตามการแลกเปลี่ยนดังกล่าว ไม่ได้ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำและปริมาณความเข้มข้นของโซเดียมไอออน (Na+) และโพแทสเซียมไอออน (K+) เป็นกลไกในการรักษาสมดุลของน้ำและแร่ธาตุที่มีประสิทธิภาพ


ร่างกายรักษาปริมาณของโซเดียมไอออน (Na+) ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยปรับอัตราการขับถ่ายให้ใกล้เคียงกับจำนวนที่ได้รับ   ปกติแล้วร่างกายได้รับ โซเดียมไอออน (Na+) จากส่วนประกอบของอาหารในปริมาณที่มากเกินพอ ประมาณวันละ 100-300 มิลลิโมล หรือ   5-15 g ส่วนมากจะอยู่ในรูปของเกลือแกง (NaCl)  โดยเฉพาะ ในอาหารปรุงแต่งที่มีรสเค็ม (salted food) และจากเครื่องปรุงรสเช่น  กะปิและน้ำปลา  เป็นต้น  และปริมาณโซเดียมไอออน (Na+) ที่ได้รับจากอาหารในแต่ละวันยังแตกต่างกันตามชนิดอาหาร  ดังนั้นปริมาณ Na+ ที่ขับถ่ายออกมาในปัสสาวะในแต่ละวันจึงแตกต่างกันด้วย

ส่วนการกำจัดโซเดียมส่วนเกินนั้นจะถูกขับออกจากร่างกายได้ 3 ทาง  คือ

1. การขับโซเดียมผ่านทางไต

การขับโซเดียมไอออน (Na+) ออกทางไตเป็นทางสำคัญและร่างกายมีกลไกควบคุมการขับถ่ายอย่างมีประสิทธิภาพดีที่สุด โดยจะขับโซเดียมไอออน (Na+) ออกในรูปของปัสสาวะ ซึ่งโซเดียมไอออน (Na+) ประมาณร้อยละ 50 ของโซเดียมไอออน (Na+) ส่วนเกินจะถูกขับถ่ายออกทางปัสสาวะในวันแรก  ส่วนที่เหลือจะถูกขับถ่ายออกหมดใน 3-4 วันต่อมา  ในทางตรงข้ามถ้าร่างกายไม่ได้รับ โซเดียมไอออน (Na+)  ไตจะสงวนโซเดียมไอออน (Na+) ไว้ จนปริมาณที่ออกมาทางปัสสาวะลดลงเหลือวันละ 5-10 มิลลิโมลได้  ถ้าขาด ติดต่อกันนานถึง 7 วัน       
ในคนปกติทั่วไปจะมีปริมาณโซเดียมไอออน (Na+) ในร่างกายคงที่ การกินเกลือ Na+ระหว่าง 0-23 g จะทำให้น้ำหนักตัวเปลี่ยนแปลงได้เล็กน้อย ประมาณไม่เกินร้อยละ 10 และในทุก 140 มิลลิโมล ของโซเดียมไอออน (Na+)  ที่เพิ่มขึ้น ร่างกายจะเก็บน้ำไว้ได้ประมาณ 1 ลิตร ดังนั้นการไตจึงเป็นอวัยวะที่มีสำคัญมากต่อการรักษาสถานภาพปกติของโซเดียมไอออน (Na+) ในร่างกาย

2. การขับโซเดียมผ่านทางเหงื่อ

ร่างกายจะสูญเสียโซเดียมไอออน (Na+) ทางเหงื่อวันละประมาณ 25 มิลลิโมล การขับโซเดียมไอออน (Na+) ออกทางเหงื่อนั้น เป็นผลจากร่างกายต้องการขับความร้อนออกมา (โดยใช้น้ำเป็นตัวนำความร้อน) เพื่อรักษาอุณหภูมิร่างกายให้ปกติ การที่โซเดียมถูกขับออกมากับเหงื่อจึงไม่มีผลต่อการควบคุมจำนวนโซเดียมในร่างกาย

3. การขับโซเดียมผ่านทางอุจจาระ

ปกติร่างกายขับโซเดียมไอออน (Na+) ออกทางอุจจาระน้อยมาก  ประมาณวันละ  5-10 มิลลิโมล  แต่การเสียโซเดียมไอออน (Na+) ผ่านทางนี้ในจำนวนมากนั้น อาจเกิดได้ในรายที่มีอาการท้องเดินหรืออาเจียนอย่างรุนแรง เนื่องจากน้ำในระบบทางเดินอาหารมีความเข้มข้นของอิเล็คโตรไลท์ (electrolyte) สูงมากกว่าในพลาสม่าและยังถูกขับออกมาจำนวนมากประมาณ 8 ลิตรต่อวัน ซึ่งการสูญเสียน้ำในทางเดินจำนวนมาก จะส่งผลให้มีการขับโซเดียมไอออน (Na+) เพิ่มขึ้นด้วย

ดังนั้นการได้รับโซเดียมไอออน (Na+) ในปริมาณที่ไม่เหมาะสมนั้น ล้วนเป็นผลเสียต่อร่างกายทั้งสิ้น แต่จากผลการสำรวจของกระทรวงสาธารณสุขร่วมกับสถาบันโภชนศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  พบว่าคนไทยส่วนใหญ่ได้รับโซเดียมมากกว่าสองเท่า ของปริมาณที่แนะนำต่อวัน ซึ่งมีผลให้เกิดภาวะโซเดียมไอออน(Na+) เกิน


ผลของการได้รับโซเดียมไอออน (Na+) สูง  มีดังนี้
  1. ส่งผลให้เกิดการคั่งของเกลือและน้ำในอวัยวะต่างๆ

เมื่อมีปริมาณโซเดียมไอออน (Na+)  มากเกินในร่างกาย จะมีผลทำให้น้ำภายนอกเซลล์ (ECF) เพิ่มมากขึ้น เนื่องจาก โซเดียมไอออน (Na+)  มีผลทำให้ osmolality ในพลาสมาเพิ่มมากขึ้น จึงดึงน้ำออกจากเซลล์และกระตุ้นให้มีการกระหายน้ำและดื่มน้ำเพิ่มขึ้นมาก  และการที่น้ำออกจากเซลล์เข้ามาในพลาสมาจึงทำให้ น้ำในหลอดเลือด (intravascular fluid, IVF) เพิ่มขึ้น  และถ้าเพิ่มขึ้นมากจะทำให้เกิดการคั่งของเกลือและน้ำในอวัยวะต่างๆ ซึ่งเป็นอันตรายต่อหัวใจ ทำให้มีน้ำคั่งในปอดและเกิดการบวมน้ำได้ ร่างกายจึงต้องแก้ไขด้วยการเพิ่มการขับโซเดียมไอออน (Na+) ออกทางไต ให้มากขึ้นและปรับให้มีการดูดกลับของ Na+ ลดลง 
ในผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง ไตยังสามารถกำจัดเกลือและน้ำส่วนเกินได้ทัน  แต่ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ซึ่งมักจะไม่สามารถกำจัดเกลือและน้ำส่วนเกินในร่างกายได้ เกิดภาวะคั่งของเกลือและน้ำในอวัยวะต่างๆเช่น แขนขา หัวใจ และปอด ผลคือทำให้แขนขาบวม เหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก นอนราบไม่ได้ ในผู้ป่วยโรคหัวใจ  น้ำที่คั่งในร่างกายจะทำให้เกิดภาวะหัวใจวายมากขึ้น 

2. เป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคความดันโลหิตสูง 
ปัจจัยที่เชื่อว่าเป็นสาเหตุของความดันโลหิตสูงนั้น มีหลายปัจจัย ได้แก่ กรรมพันธุ์, ความอ้วน, ระดับไขมันในเส้นเลือด, ความเครียดทางจิตใจ รวมทั้งพฤติกรรมและวิถีชีวิตที่เคยชินเช่น การรับประทานอาหารรสเค็มโดยในภาวะปกติร่างกายมีกลไกการปรับความดันโลหิตให้มีค่าอยู่ในระดับปกติและคงที่อยู่เสมอ ด้วยกลไกดังนี้

1. กลไกการปรับความดันโลหิตที่เกิดขึ้นโดยรวดเร็ว หมายถึง กลไกที่ใช้เวลาเพียงเล็กน้อยในการปรับ ได้แก่
1.1 กลไกทางระบบประสาท ซึ่งได้แก่ปฏิกิริยา Reflex โดย Reflex ที่มีบทบาทสำคัญในการควบคุมความดันโลหิตคือ baroreceptor reflex, chemoreceptor reflex และ central nervous system, ischemic mechanism โดยอาศัยตัวรับรู้ (receptor) ที่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงความดันโลหิต ซึ่งอยู่บริเวณผนังของหลอดเลือดแดงขนาดใหญ่ เมื่อตัวรับรู้ (receptor) ของ Reflex ถูกกระตุ้น โดยการเปลี่ยนแปลงของระดับความดันโลหิต จะเกิดการเปลี่ยนแปลงความถี่ของสัญญาณคลื่นประสาทที่ไปยังสมองส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนาดของหลอดเลือด การเต้นของหัวใจ และความแรงของการบีบตัวของหัวใจ และทำให้ความดันโลหิตกลับเข้าสู่สภาวะปกติ

1.2 กลไกทางฮอร์โมนและสารเคมี เป็นกลไกควบคุมความดันโลหิตที่เกิดขึ้นในเวลาอันรวดเร็วโดยอาศัยบทบาทของฮอร์โมนและสารเคมีด้วยซึ่งได้แก่ nor epinephrine- epinephrine system, rennin-angiotensin system และ vasopressin(ADH)
1.2.1 ฮอร์โมน nor epinephrine และ epinephrine ซึ่งมีผลต่อระบบไหลเวียน คือ ทำให้หัวใจทำงานเพิ่มขึ้น หลอดเลือดส่วนใหญ่ในร่างกายหดตัวทั้งหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำ ความดันโลหิตสูงขึ้นซึ่งเป็นการเพิ่มcardiacoutput และความต้านทานส่วนปลาย               
1.2.2 ระบบเรนิน-แองจิโอเทนซิน (renin-angiotensin system) เป็นกลไกของการปรับความดันโลหิตที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วอีกชนิดหนึ่งและยังสามารถควบคุมในระยะยาวได้อีกด้วยถือเป็นระบบที่มีความสำคัญมาก 
โดยถูกกระตุ้นเมื่อมีระดับความดันโลหิตเปลี่ยนแปลง โดยระบบเรนิน-แองจิโอเทนซินนั้น มีผลต่อการปรับเปลี่ยนระดับความดันโลหิตสูง, มีอิทธิพลต่อหลอดเลือดเป็นอย่างมากมากและมีฤทธิ์ในการกระตุ้นมากกว่านอร์อิพิเนฟรินประมาณ 200 เท่า โดยการทำให้หลอดเลือดแดงหดตัวและยับยั้งการขับออกของเกลือและน้ำที่ไตจึงมีผลกระตุ้นการผลิตและหลั่งฮอร์โมนอันโดสเตอโรนซึ่งไปยับยั้งการขับเกลือและน้ำ 

2. กลไกการปรับความดันโลหิตที่ต้องใช้เวลานาน หมายถึง กลไกที่ใช้เวลานานในการปรับระดับความดันโลหิต ซึ่งเกิดขึ้นช้ากว่ากลไกของระบบประสาท ได้แก่ การควบคุมปริมาตรของเลือดโดยกลไกทางหลอดเลือดฝอยและกลไกทางไต
2.1 กลไกทางหลอดเลือดฝอย (capillary fluid shift) โดยเมื่อความดันโลหิตเปลี่ยนแปลง จะมีผลไปถึงความดันในหลอดเลือดฝอยด้วย ทำให้สมดุลของการแลกเปลี่ยนสารน้ำผ่านผนังหลอดเลือดฝอยถูกรบกวนไปด้วย 
2.2 กลไกทางไต (Renal body fluid mechanism) การปรับความดันโลหิตโดยบทบาททางไตเป็นกลไกที่ต้องใช้เวลานานหลายชั่วโมงกว่าจะมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งในช่วงแรกของการปรับต้องอาศัยกลไกอื่นๆ ที่ตอบสนองภายในเวลาอันรวดเร็วกว่าร่วมด้วยกลไกทางไตทำได้โดยอาศัยบทบาทการทำงานของระบบเรนิน-แองจิโอเทนซิน ทำให้เพิ่มการหลั่งฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการดูดกลับของโซเดียมและน้ำ คือ aldosterone และโดยการออกฤทธิ์ของ vasopressin ทำให้มีการดูดกลับของน้ำที่หลอดฝอยของไตเพิ่มขึ้น กลไกทางไตในการปรับความดันโลหิตเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของความดันของหลอดเลือดดังแผนผัง 

3. ส่งผลให้เกิดผลเสียต่อไต 
จากการที่มีการคั่งของน้ำและระดับความดันโลหิตสูง ทำให้ไตทำงานหนักขึ้น  เพื่อเพิ่มการกรองโซเดียมและน้ำส่วนเกินของร่างกาย ผลที่ตามมาคือเกิดความดันในหน่วยไตสูงขึ้น และการรั่วของโปรตีนในปัสสาวะมากขึ้น  นอกจากนี้ยังกระตุ้นให้ร่างกายสร้างสารบางอย่าง   ซึ่งทำให้ไตเสื่อมเร็วขึ้น 
ไตเป็นอวัยวะที่ช่วยในการปรับระดับโซเดียมในร่างกายคนเรา เมื่อปริมาณโซเดียมสูงเกินไป ไตจะขับถ่ายออกมา ในทางกลับกันถ้าร่างกายต้องการโซเดียม ไตจะทำงานโดยดูดสสารนั้นกลับสู่เลือด แต่เมื่อใดที่ไตทำงานผิดปกติไม่สามารถขับโซเดียมได้ในปริมาณที่เหมาะสม จนร่างกายมีปริมาณโซเดียมสะสมสูง น้ำในร่างกายก็จะเพิ่มปริมาณมากขึ้น นั่นหมายถึงว่าระดับเลือดก็จะสูงขึ้นด้วย เมื่อปริมาณเลือดสูงขึ้น เลือดต้องวิ่งผ่านไปยังเส้นเลือดมากขึ้น  เป็นผลให้เกิดความดันโลหิตสูงขึ้น ซึ่งหัวใจก็ต้องสูบฉีดหนักขึ้น เพราะปริมาณเลือดที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้หัวใจต้องเต้นเร็วขึ้น 
การได้โซเดียมมากเกิน  เป็นสาเหตุทำให้ระดับความดันโลหิตเพิ่มขึ้น  โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง คนอ้วน และผู้ป่วยโรคเบาหวาน   ภาวะความดันโลหิตสูงทำให้เกิดผลเสียต่อหลอดเลือดในอวัยวะต่างๆ  เช่น หัวใจ และสมอง เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน โรคอัมพฤกษ์ อัมพาตตามมา  พบว่าในผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงอยู่แล้วหากรับประทานโซเดียมในปริมาณที่เหมาะสม   ควบคู่กับยาลดความดันโลหิต สามารถลดความดันโลหิตได้ดีกว่าผู้ที่รับประทานยาลดความดันโลหิต  แต่ได้รับโซเดียมเกินกำหนด


คุณอาจคาดไม่ถึงว่าเกลือในปริมาณที่มากเกินความต้องการจะมีผลร้ายแรงต่อร่างกายขนาดไหน
และส่งผลไปถึงโรคความดันโลหิตสูงได้อย่างไร  


Dr.Marlelo Agama  นักฟิสิกซ์ชาวฟิลิปปินส์ กล่าวว่า “ไตเป็นอวัยวะที่ช่วยในการปรับระดับโซเดียมในร่างกายคนเรา เมื่อปริมาณโซเดียมสูงเกินไป ไตจะขับถ่ายออกมา ในทางกลับกันถ้าร่างกายต้องการโซเดียม ไตจะทำงานโดยดูดสสารนั้นกลับสู่เลือด แต่เมื่อใดที่ไตทำงานผิดปกติไม่สามารถขับโซเดียมได้ในปริมาณที่เหมาะสม จนร่างกายมีปริมาณโซเดียมสะสมสูง น้ำในร่างกายก็จะเพิ่มปริมาณมากขึ้น นั่นหมายถึงว่าระดับเลือดก็จะสูงขึ้นด้วย เมื่อปริมาณเลือดสูงขึ้น เลือดต้องวิ่งผ่านไปยังเส้นเลือดมากขึ้น  เป็นผลให้เกิดความดันโลหิตสูงขึ้น ซึ่งหัวใจก็ต้องสูบฉีดหนักขึ้น เพราะปริมาณเลือดที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้หัวใจต้องเต้นเร็วขึ้น"

ความดันโลหิต (Blood Pressure) หมายถึง แรงที่กระทำโดยเลือดบนหน่วยพื้นที่บนผนังเลือด โดยความหมายทั่วไป ความดันโลหิตจะหมายถึง ความดันของเลือดแดง (arterial blood pressure) ซึ่งวัดค่าออกมาเป็นหน่วยมิลลิเมตรของปรอท ความดันสูงสุดในหลอดเลือดแดงเกิดตรงกับหัวใจบีบตัว (systole) แล้วดันเลือดเข้าสู่เอออร์ตาเรียกว่า systoric blood pressure ส่วนความดันต่ำสุดในขณะหัวใจคลายตัว (diastole) เรียกว่า diastolic blood pressure ผลต่างระหว่างความดันทั้งสอง เรียกว่า pulse pressure
Systoric blood pressure บอกถึงความสามารถในการยืดขยาย (distensibility) ของผนังหลอดเลือดแดง ขณะรับเลือดจากหัวใจในช่วงหัวใจบีบตัว
Diastolic blood pressure บอกถึงภาวะที่มี load ต่อผนังหลอดเลือดแดงขณะหัวใจพัก และบ่งถึงค่าแรงต้านต่อการบีบตัวของหัวใจในการส่งเลือดออกไปเลี้ยงร่างกาย
Pulse pressure คือ ผลต่างของความดันซิสโตลิกและความดันไดแอสโตลิก ค่าปกติมีประมาณ 30 ถึง 40 มิลลิเมตรปรอท 

ปัจจัยที่มีอิทธิผลต่อการเปลี่ยนแปลงค่าของ Pulse Pressure ได้แก่ ปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจต่อการบีบตัว 1 ครั้ง (stroke volume) และความสามารถในการยืดขยายของผนัง หลอดเลือดแดง Mean arterial pressure (MAP) ความดันเลือดแดงเฉลี่ย เป็นค่าของความดันโลหิตระหว่างความดันโลหิตซิสโตลิกและความดันโลหิตไดแอสโตลิก เนื่องจากในรอบ การทำงานของหัวใจช่วงล่างบีบตัวจะใช้เวลาสั้นกว่าช่วงเวลาคลายตัว ดังนั้นในการพิจารณาค่าของความดันเลือดแดงเฉลี่ย จึงไม่ใช่ค่ากึ่งกลางระหว่าความดันซิสโตลิก และความดัน แอสโตลิก แต่ค่าของความดันเลือดแดงเฉลี่ยจะอยู่ค่อนมาทางความดันไดแอสโตลิกเล็กน้อยมีค่าโดยประมาณจากสูตรดังนี้ (Thelan, Davie&Urden,1990)

MAP = diastolic B.P.+ 1 pulse pressure

 

แสดงความคิดเห็น