หน้าแรก

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย

ศึกษาวิจัยและรวบรวมความรู้เกี่ยวกับผู้สูงอายุทั้งไทยและต่างประเทศ และส่งเสริมการพัฒนารูปแบบการดำเนินการด้านผู้สูงอายุสำหรับใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุไทย ตลอดจนเผยแพร่ความรู้และวิทยาการเกี่ยวกับผู้สูงอายุให้แก่สังคมโดยรวม

รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย

รายงานวิชาการ

ผลวิจัย

ข้อเสนอเชิงวิชาการ การพัฒนาทักษะการทำงาน (RE-SKILL and UP-SKILL) เพื่อสร้างหลักประกันรายได้ผู้สูงอายุ

การจัดทำข้อเสนอกลไกและแนวทางในการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานสูงอายุนี้ อยู่บนฐานของกรอบด้านยุทธศาสตร์ชาติที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงวัย และการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย รวมถึงแผนงานบูรณาการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัยที่มีเป้าหมายเพื่อสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้กับผู้สูงอายุ และได้ดำเนินการอยู่แล้ว นำโดยกระทรวงแรงงาน โดยมีรายละเอียด ตั้งแต่ในขั้นของการกำหนดนโยบายและแผน ไปจนถึงการสร้างกลไกมารองรับการดำเนินงานตามนโยบายและแผนดังกล่าว ประกอบไปด้วย 5 ข้อเสนอ ดังนี้ ข้อเสนอที่ 1: การพัฒนาแผนระดับชาติเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ เช่นเดียวกับที่สิงคโปร์เคยเปลี่ยนแปลงนโยบายและโครงสร้างองค์กรเพื่อขับเคลื่อน FutureSkills ในปี ค.ศ. 2014 ทั้งนี้ ประเทศไทยควรเร่งให้เกิดการขับเคลื่อนงานด้านการพัฒนาและยกระดับทักษะแรงงานสูงอายุในฐานะอีกกลุ่มกำลังแรงงานที่สำคัญของประเทศโดยจัดทำ “แผนระดับชาติด้านการพัฒนาและยกระดับทักษะแรงงานสูงอายุ” โดยแผนดังกล่าวจะกำหนดให้การพัฒนาทักษะการทำงานให้กับผู้สูงอายุต้องดำเนินไปควบคู่กับการส่งเสริมการจ้างงานด้วยทั้งในรูปแบบการจ้างงานต่อเนื่อง การจ้างงานใหม่ การประกอบอาชีพอิสระ (ทั้งแบบเต็มเวลาและบางเวลา) และการสร้างผู้ประกอบการสูงอายุ ข้อเสนอที่ 2: การจัดตั้งคณะทำงานแบบ Multi-agency Task Force เพื่อขับเคลื่อนงานด้านการพัฒนาและยกระดับทักษะผู้สูงอายุแบบบูรณาการและเป็นระบบเดียวกันทั้งประเทศ โดยในโมเดลทดลองเสนอให้มีการจัดตั้ง “คณะทำงานบูรณาการเพื่อพัฒนาและยกระดับทักษะแรงงานสูงอายุ” ซึ่งอาจจะมอบหมายให้กระทรวงแรงงานเป็นเจ้าภาพในการตั้งคณะทำงาน หรือจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาใหม่เพื่อรับผิดชอบเรื่องการพัฒนาทักษะของแรงงานสูงอายุโดยตรง เช่น สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานสูงอายุ เป็นต้น องค์ประกอบของคณะทำงานในเบื้องต้นควรประกอบด้วย กระทรวงและหน่วยงานภายใต้กระทรวงที่ดำเนินงานภายใต้แผนบูรณาการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัย ในด้านส่งเสริมการทำงานของผู้สูงอายุอยู่แล้ว ในขณะเดียวกันก็ควรบูรณาการการทำงานกับหน่วยงานอิสระด้านการกำหนดสมรรถนะการทำงาน และสภาวิชาชีพต่างๆ รวมถึงควรมีภาคเอกชนเข้าร่วมด้วยในฐานะเป็นอีกตัวแสดงหลักในการกำหนดทิศทางการพัฒนาทักษะของประเทศ และสามารถเชื่อมโยงความต้องการของนายจ้างกับลูกจ้างได้ ซึ่งหน่วยงานต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบของคณะทำงาน มีดังนี้ กระทรวงแรงงาน: […]

การเรียนรู้นโยบายการสูงวัยในที่เดิมจากแนวปฏิบัติที่เหมาะสม: การถอดบทเรียนจากประสบการณ์ของประเทศญี่ปุ่นและสิงคโปร์สู่การขับเคลื่อนนโยบาย ด้านการจัดการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทย

“การสูงวัยในที่อยู่อาศัยเดิม” (Ageing in Place) เป็นแนวคิดที่ใช้อธิบายเมื่อบุคคลรู้สึกถึงความมั่นคง (security) และความคุ้นเคย (familiarity) ต่อที่อยู่อาศัยและชุมชนของตัวเอง (Wiles et al., 2012) จนกระทั่งนำไปสู่การตัดสินใจที่จะอยู่อาศัยในบ้านเดิม สภาพแวดล้อมเดิม หรือชุมชนเดิมของตัวเองให้นานที่สุด เท่าที่ความสามารถและวัยจะเกื้อหนุนให้ทำได้ นอกจากนี้ “การสูงวัยในที่อยู่อาศัยเดิม” ยังหมายความรวมถึงความสามารถในการเข้าถึงและได้รับบริการและการสนับสนุนต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อสภาพร่างกายและรูปแบบการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุที่เปลี่ยนแปลงไป (Colello, 2007) ทั้งนี้ เพื่อที่จะสามารถดำรงอัตลักษณ์ (identity) คงความรู้สึกไม่พึ่งพาและเป็นอิสระ (independence and autonomy) รวมถึงรักษาคุณภาพชีวิต (quality of life) ของผู้สูงอายุ แม้ว่าการสูงวัยในที่อยู่อาศัยเดิมเป็นแนวคิดที่มีการกล่าวถึงอย่างกว้างขวางและมีความพยายามที่จะนำไปสู่ปฏิบัติในบางหน่วยงานของภาครัฐ อย่างไรก็ตาม การสูงวัยในที่อยู่อาศัยเดิมยังคงไม่ใช่แนวทางหลักที่ภาครัฐโดยรวมให้ความสนใจและมุ่งที่จะขับเคลื่อนให้เกิดผลในทางปฏิบัติ ดังนั้น แนวคิด “การสูงวัยในที่อยู่อาศัยเดิม” ยังคงต้องการการให้ความสำคัญและการผลักดันจากภาครัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่งบประมาณและการลงทุน เพื่อสนับสนุนให้แนวคิดดังกล่าวกลายเป็น “แนวทางหลัก” (mainstream approach) ทั้งในแง่ภารกิจและเป้าหมายต่อการดำเนินงานของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (เพิ่งอ้าง) ดังนั้น การเรียนรู้เชิงนโยบาย (policy learning) เพื่อแปลงแนวคิดและถอดประสบการณ์จากแนวปฏิบัติที่เหมาะสมในต่างประเทศ […]

ข่าว บทความ

กิจกรรม และเกร็ดความรู้สำหรับผู้สูงอายุ

หนังสือ: การรักษาและฟื้นฟูสภาพโรค stroke

หนังสือ การรักษาและฟื้นฟูสภาพโรค Stroke โดย นายแพทย์บรรลุ ศิริพานิช “วิธีแก้ไขหรือรักษา stroke ที่สำคัญที่สุดคือ กายภาพบำบัด (physical therapy) ควบคู่กับการใช้ชีวิตและวางจิตใจให้เหมาะสม” ส่วนหนึงจากหนังสือที่นายแพทย์บรรลุ ศิริพานิชเขียนเล่าจากประสบการณ์และองค์ความรู้ของการรักษาและฟื้นฟูสภาพจากโรค stroke ทั้งทางกายและทางจิตใจ รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดาวน์โหลดเอกสารเล่มหนังสือด้านล่าง

bua

March 21, 2023

หนังสือชุดองค์ความรู้เรื่อง สูงวัยในถิ่นเดิม

หนังสือชุดองค์ความรู้เรื่อง สูงวัยในถิ่นเดิม มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) ได้รับทุนสนับสนุนจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)   การเตรียมเข้าสู่วัยสูงอายุด้านที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมทั้งทางกายภาพและสิ่งแวดล้อม เป็นประเด็นสำคัญที่สังคมให้ความสนใจในการพัฒนาที่พักอาศัยแบบ senior complex ซึ่งอาจยังไม่ตอบโจทย์กับผู้สูงอายุไทยส่วนใหญ่ที่มีความต้องการอาศัยในบ้านเดิมของตนเอง แต่ก็มีข้อจำกัดและขาดระบบริการสนับสนุนที่สำคัญ แนวคิด “สูงวัยในถิ่นเดิม” (aging in place) จะช่วยเติมเต็มความต้องการและส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสามารถพักอาศัยในบ้านเดิมของตนเองได้อย่างอิสระและมีความปลอดภัย    

bua

September 12, 2022

หนังสือชุดองค์ความรู้เรื่อง สูงวัย ไม่เกษียณ

หนังสือชุดองค์ความรู้เรื่อง สูงวัย ไม่เกษียณ มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) ได้รับทุนสนับสนุนจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)   มุมมองอันเป็นอคติต่อผู้สูงอายุว่าเป็นผู้รอรับการช่วยเหลือและไม่ช่วยยกระดับและเพิ่มมูลค่าทางเศรษกิจเป็นเรื่องที่สังคมควรให้ความสนใจและปรับเปลี่ยนทัศนคติต่อผู้สูงอายุ “สังคมสูงวัย” ของประเทศไทยนั้น หากภาครัฐและเอกชนสามารถเปิดกว้างและส่งเสริมศักยภาพด้านการทำงานและสร้างรายได้ให้เพียงพอต่อการดำรงชีพของผู้สูงอายุ ไม่เพียงช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุดีขึ้น แต่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษกิจของประเทศและเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาสังคมได้อย่างยั่งยืน    

bua

September 12, 2022

องค์ความรู้และนวัตกรรมจากการวิจัย

✧ Elderly Server : โปรแกรมฐานข้อมูลผู้สูงอายุ

โปรแกรมระบบฐานข้อมูลเพื่อใช้ในงานพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุระดับท้องถิ่น

✧ Active ageing assessment tool: แบบประเมินความมีชีวิตชีวาของผู้สูงอายุ

สำหรับการประเมินระดับความมีชีวิตชีวา (Active ageing) ของผู้สูงอายุในระดับบุคคล

ติดต่อเรา

  • มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.)
    Foundation of Thai Gerontology Research and Development institute (TGRI)
    1168 พหลโยธิน 22 แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
  • โทรศัพท์ 02 511 5855 โทรสาร 02 939 2122
  • Aging@thainhf.org
  • เวลาทำการ จันทร์ – ศุกร์ 9.00 – 17.00 น. (ยกเว้นวันหยุดราชการ)

ติดตามเรา

ส่งข้อความ

ภาคีเครือข่าย